การหมักเบียร์
เบียร์ เกิดจากการหมักของ น้ำตาลที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยใช้ ยีสต์ เป็นตัวทำปฏิกิริยาให้ ซึ่งยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มีเซลล์เดียว และเน้นไปที่ความสะอาด เพราะแบคทีเรียอาจเข้ามาก่อกวนการหมักเบียร์ของเรา ดังนั้นความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เบียร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามยีสต์ที่ใช้ในการหมักเบียร์ซึ่งแบ่งออกเป็น ยีสต์หมักลอยผิว, ยีสต์หมักนอนก้น, และยีสต์ธรรมชาติ คือ
- Top Fermentation (ยีสต์หมักลอยผิว)
หรือที่รู้จักในชื่อ Top-Cropping หรือ Warm Fermentation
คำว่า “Top-Fermenting” มักจะหมายถึง Ale Yeasts (ยีสต์ที่ทำงานด้านบนของน้ำเบียร์) Ale Yeasts คือเชื้อยีสต์ที่จะลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้ำของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก การหมักจะอยู่ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 15 – 22 องศาเซลเซียส การหมักใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 4 สัปดาห์
ตัวอย่างเบียร์ ประเภทยีสต์หมักลอยผิว
-
- Ales (เอล)Porter (พอร์ทเทอร์)
- Stout (สเตาท์)
- Wheat Beer (วีทเบียร์)
- Bottom Fermentation (ยีสต์หมักนอนก้น)
หรือที่รู้จักในชื่อ Bottom-Cropping หรือ Cool Fermentation
คำว่า “Bottom-Fermenting” มักจะหมายถึง Lager Yeasts (คือยีสต์ที่ทำงานด้านล่างของน้ำเบียร์)
Lager Yeasts คือเชื้อยีสต์ที่จะจมอยู่ที่ก้นภาชนะเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก การหมักจะอยู่ที่อุณหภูมิเย็นประมาณ 4 – 10 องศาเซลเซียส การหมักใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 เดือน
ตัวอย่างเบียร์ ประเภทยีสต์หมักนอนก้น- Lagers (ลาเกอร์)
- Pilsners (พิลส์เนอร์)
- Bocks (บ็อค)
- Spontaneous Fermentation “Wild Yeast” (ยีสต์ธรรมชาติ)
Wild Yeast คือเชื้อยีสต์ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติไม่ได้ใช้เชื้อที่เพาะเลี้ยง การหมักเบียร์อย่างเป็นธรรมชาติคือปล่อยให้ปัจจัยสภาพแวดล้อม (อากาศ, ผนัง, ไม้, ถัง) มีผลต่อลักษณะและรสชาติของเบียร์ ผลลัพธ์คือเบียร์ที่มีรสเปรี้ยว การหมักแบบนี้แตกต่างจากกระบวนการผลิตเบียร์ส่วนใหญ่ซึ่งการหมักจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม
ตัวอย่างเบียร์ ประเภทยีสต์ธรรมชาติ- Lambic (ลัมบิค)
นอกจากนี้การแบ่งประเภทยังแบ่งตาม สี, แหล่งผลิต, วัตถุดิบที่ใช้, กระบวนการผลิต, ปริมาณแอลกอฮอล์ และ อื่นๆ อย่างไรก็ตามควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อรักษาสุขภาพและไม่เป็นการเดือดร้อนผู้อื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก eatconnection และ beerzpot